วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วิชา การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry – based learning)
แนวคิดทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาทางสติปัญญา  ของ Piaglt และ Vygotsky  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นในบริบท  ที่ผู้เรียนสร้างความรู้ในขณะที่ได้รับประสบการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ  โดยจัดให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆกับสิ่งเร้า  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ในการสังเกตการเก็บข้อมูลที่เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแบบตื่นตัวกับสถานการณ์จริงในชีวิต  ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้  เมื่อได้มีการจัดการให้มีการเชื่อมโยงของข้อมูลความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่มีอยู่  และถ้าข้อมูลใหม่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความรู้เดิมจะเกิดความขัดแย้งขึ้นในใจ  และต้องหาทางแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสติปัญญาเดิม  เพื่อให้สามารถรับข้อมูลใหม่ได้
วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้การคิดอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนของการแก้ปัญหา  และได้ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกิดเป็นความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ด้วยตนเอง
องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  มีดังนี้
            1.การตั้งประเด็นปัญหาที่นำไปสู่กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้
2.การกำหนดขั้นตอน/วิธีการวนการสืบเสาะหาความรู้
3.การอภิปรายเพื่อสรุปคำตอบที่ได้จากการสืบเสาะหาความรู้
ขั้นตอนสำคัญของการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  ประกอบด้วย
1.การสร้างความสนใจ/ ให้เผชิญปัญหา
2.การสำรวจและค้นหา
3.การอภิปรายและลงข้อสรุป
4.การขยายความรู้
5.การประเมินผล
ข้อเสนอแนะในการใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  มีดังนี้
1.ผู้สอนต้องฝึกฝนตนเองในการจัดสถานการณ์   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและเกิดความสงสัยอยากหาคำตอบ
2.ผู้สอนต้องฝึกฝนตนเองในการตั้งคำถามและตอบคำตอบที่ช่วยนำทางให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ค้นพบด้วยตนเอง
3.ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการบอกความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง
ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
ข้อดี
1.ผู้เรียนโอกาสพัฒนาความคิดความคิดอย่างเต็มที่
2.การได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและใฝ่รู้ตลอดเวลา
3.ผู้เรียนได้ฝึกการคิดและลงมือกระทำ  ทำให้ได้เรียนรู้วิธีจัดระบบความคิดวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4.ผู้เรียนมีความรู้ที่คงทน  เพราะได้ถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ค้นคว้าด้วยตนเอง  ทำให้จดจำเนื้อหาที่ค้นพบได้อย่างแม่นยำ  และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น  ทำให้เรียนรู้โนมติอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
5.ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
ข้อจำกัด
1.ใช้เวลามากในการสอนแต่ละครั้ง
2.ถ้าสถานการณ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้นไม่ชวนสงสัย  หรือไม่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย   และไม่อยากเรียนด้วยวีธีนี้
3.ถ้าผู้เรียนสอนไม่เข้าใจบทบาทของตนเอง  หรือควบคุมพฤติกรรมในห้องเรียนมากเกินไป  จะทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง
4.ในกรณีที่ผู้เรียนมีระดับสติปัญญาต่ำ  หรือได้รับแรงกระตุ้นไม่มากพอจะไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบนี้ได้
5.ในกรณีที่ผู้เรียนเป็นเด็กเล็ก  อาจขาดแรงจูงใจที่จะศึกษาปัญหาและขาดประสบการณ์ที่จะรู้สึกสนุกกับความสำเร็จในการสืบเสาะหาความรู้
6.การเรียนในห้องเรียนปกติอาจมีข้อจำกัดของการใช้แหล่งข้อมูลต่างๆที่จำเป็นในการสืบเสาะหาความรู้
                  วิชา การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative – based learning)
            ความหมายของการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
            การเรียนรู้แบบร่วมมือ  หมายถึง  การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนทำงานด้วยกันในกลุ่มย่อยได้เรียนรู้และรับผลตอบแทนร่วมกัน  ซึ่งผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปคะแนนหรือสิ่งอื่นซึ่งเป็นสิ่งที่จูงใจหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนในกลุ่มย่อยร่วมมือกันเรียนรู้
            หลักการเรียนรู้ของการจัดการเรียนการสอบแบบร่วมมือ  มี  5  ประการ
1.หลักการพึ่งพากัน (positive interdependence) โดยถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน  และจะต้องพึ่งพากันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
2.การหันหน้าเข้าหากัน  มีปฏิสัมพันธ์กัน (face to face interaction) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ข้อมูล  และการเรียนรู้ต่างๆ
3.อาศัยทักษะทางสังคม  (social skills) โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน
4.การเรียนรู้ร่วมกันจะมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มที่ใช้ในการทำงาน
5.มีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้
วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  มีดังนี้
1.เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทุกระดับความสามารถ
2.เพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือร่วมมือกันระหว่างผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกัน
3.เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเป็นผู้ชนะ  และมีความสำเร็จในการเรียน
4.เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ  ด้วยตนเอง
5.เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่างๆ  เช่น  ทักษะการสื่อสาร  ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น  ทักษะการสร้างความสัมพันธ์  รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้  ทักษะการคิดการแก้ปัญหา  เป็ฯต้น
องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  มีหลายเทคนิค   เช่น  จิกซอ  ซีไออาร์ซี  ทีจีที  แต่ละเทคนิคมีองค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนคล้ายกัน  ดังนี้
1.การจัดกลุ่มผู้เรียน
2.การศึกษาเนื้อหาสาระ
3.การทดสอบ
4.การคิดคะแนน
5.วิธีการเสริมแรงและการให้รางวัล
ขั้นตอนการสอนของการเรียนการสอนแบบร่วมมือ มีดังนี้
1.       เทคนิคจกซอว์
1.1    จัดกลุ่มผู้เรียนคละความสามารถ  (เก่ง-กลาง-อ่อน)กลุ่มละ 4 คน  และเรียกกลุ่มนี้ว่า
กลุ่มบ้าน (Home group)
                   1.2  สมาชิกในกลุ่มบ้าน  ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน   (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น)  และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้
                    1.3  สมาชิกในกลุ่มบ้านแยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่น  ซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน  ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (expert group) และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียดและร่วมกันอภิปรายคำตอบประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมาย
                   1.4  สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับไปสู่กลุ่มบ้าน  แต่ละคนช่วยสอนเพื่อนในกลุ่มให้เข้าใจในสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  ทำเช่นนี้  สมาชิกทุกคนจะได้เรียนรู้ภาพรวมของสาระทั้งหมดโดยรู้เท่าเทียมกัน
                    1.5  ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ  แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล  และนำคะแนนของทุกคนในกลุ่มของเรามารวมกัน  (หรือหาค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนนกลุ่ม  กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล
            2.เทคนิค ที จี ที (TGT) Team Games Tournament มีขั้นตอนดังนี้
                     2.1  จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ  กลุ่มละ  4  คน  เรียกว่า  กลุ่มบ้าน
                     2.2  สมาชิกในกลุ่มบ้านศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน
                     2.3  สมาชิกในกลุ่มบ้านเป็นตัวแทนไปแข่งกับกลุ่มอื่น  โดยแข่งตามความสามารถ  คือคนเก่งในแต่ละบ้านไปรวมกัน  คนอ่อนก็ไปรวมกับคนอ่อนของกลุ่มอื่น กลุ่มใหม่นี้เรียกว่า กลุ่มแข่งขันมีสมาชิก 4 คน
                     2.4  สมาชิกในกลุ่มแข่งขัน  เริ่มแข่งขันดังนี้
                        -  แข่งขันตอบคำถาม  10  คำถาม
                        -  สมาชิกคนแรกจับคำถามขึ้นมา  1  คำถาม  และอ่านคำถามให้กลุ่มฟัง
                        -  สมาชิกที่อยู่ซ้ายมือของผู้อ่านคำถามคนแรกตอบคำถามก่อน  ต่อไปจึงให้คนถัดไปตอบจนครบ
                        -  ผู้อ่านคำถาม  เปิดคำตอบแล้วอ่านเฉลยคำตอบที่ถูกให้กลุ่มฟัง
                        -  ผู้ตอบถูกคนแรกได้ 2 คะแนน  ผู้ตอบถูกคนต่อไปได้ 1 คะแนน  ผู้ตอบผิดได้ 0 คะแนน
                        -  เมื่อเล่นจนครบ  10  คำถาม  ทุกคนรวมคะแนนตนเอง  ผู้ที่ได้คะแนนสูงอันดับ 1 ได้โบนัส 10 คะแนน  อันดับ 2 ได้ 8 คะแนน อันดับ 3 ได้ 5 คะแนน อันดับ 4 ได้ 4 คะแนน
                      2.5  เมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว  สมาชิกกลุ่มบ้านนำคะแนนที่แต่ละคนได้รวมเป็นคะแนนของกลุ่ม
            3.  เทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี  (CIRC)  มาจากคำว่า Cooperative Integrated Reading And Composition เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือที่ใช้ในการสอนอ่านและเขียนโดยเฉพาะ  รูปแบบนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ
                        1.กิจกรรมการอ่านแบบเรียน
2.การสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ
3.การบูรณาการภาษากับการเขียน
                      3.1  ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามระดับความสามารถในการอ่านผู้เรียนในแต่ละกลุ่มจับคู่ 2 คน หรือ 3 คน ทำกิจกรรมการอ่านแบบเรียนร่วมกัน
                      3.2  ผู้สอนจัดทีมใหม่โดยให้แต่ละทีมมีผู้เรียนต่างระดับความสามารถอย่างน้อย 2 ระดับ ทีมทำกิจกรรมร่วมกัน  เช่น  เขียนรายงาน  แต่งความ  ทำแบบฝึกหัด  และแบบทดสอบต่างๆ  และมีการให้คะแนน  ผลงานของแต่ละทีม  ทีมใดได้คะแนนร้อยละ 90 ขึ้นไป จะได้รับประกาศนียบัตรเป็น “ซุปเปอร์ทีม” หากได้รับคะแนนตั้งแต่ ร้อยละ 80 – 89 ก็จะได้รับรางวัลรองลงมา
                      3.3  ผู้เรียนพบกลุ่มการอ่านประมาณวันละ  20  นาที  แจ้งวัตถุประสงค์ในการอ่าน  แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ ทบทวนศัพท์เก่า  ต่อจากนั้นผู้สอนจะกำหนดและแนะนำเรื่องที่อ่านแล้วให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ  ตามที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ให้  เช่น  อ่านเรื่องในใจแล้วจับคู่  อ่านออกเสียงให้เพื่อนฟัง  และช่วยกันแก้จุดบกพร่องหรือผู้สอนอาจจะให้ผู้เรียนช่วยกันตอบคำถาม  วิเคราะห์ตัวละคร  วิเคราะห์ปัญหา  หรือทำนายว่าเรื่องจะเป็นอย่างไรต่อไป เป็นต้น
                      3.4  หลังจากกิจกรรมการอ่าน  ผู้สอนนำการอภิปรายเรื่องที่อ่านโดยผู้สอนจะเน้นการฝึกทักษะต่างๆในการอ่าน เช่น การจับประเด็นปัญหาการทำนาย เป็นต้น
                     3.5  ผู้เรียนรับการทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจ  ผู้เรียนจะได้รับคะแนนเป็นทั้งรายบุคคลและทีม
                     3.6   ผู้เรียนจะได้รับการสอนและฝึกทักษะการอ่านสัปดาห์ละ 1 วัน  เช่น ทักษะการจับใจความสำคัญ ทักษะการอ้างอิง  ทักษะการใช้เหตุผล เป็นต้น
                     3.7  ผู้เรียนจะได้รับชุดการเรียนการสอนเขียน  ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อเขียนได้ตามความสนใจ  ผู้เรียนจะช่วยกันวางแผนเขียนเรื่อง  และช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องและในที่สุด  ตีพิมพ์ผลงานออกมา
                      3.8  ผู้เรียนจะได้รับการบ้านให้เลือกอ่านหนังสือที่สนใจ  และเขียนรายงาน  เรื่องที่อ่านเป็นรายบุคคล  โดยให้ผู้ปกครองช่วยตรวจสอบพฤติกรรม  การอ่านของผู้เรียนที่บ้านโดยมีแบบฟอร์มให้
การวัดผลและประเมินผลของการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
1.       ตามรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคต่างๆโดยสรุปจะมีทั้งคะแนนรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.       วิธีการวัดผลใช้การทดสอบความรู้ การสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การประเมินผลงาน และการสัมภาษณ์ความรู้สึก ความคิดเห็น
3.       เครื่องมือที่ใช้วัดผล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินผลงาน
4.       ช่วงเวลาที่ใช้วัดผลคือ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
ผลกระทบที่มีต่อผู้เรียน  มีดังนี้
1.        ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระได้ด้วยตนเอง  โยความร่วมมือและช่วยเหลือจากเพื่อนๆ
2.       ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆจำนวนมาก โดยเฉพาะทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการประสานสัมพันธ์ ทักษะการคิดทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการแก้ปัญหา ฯลฯ
3.       ผู้เรียนกระตือรือร้นเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองโดยรอบด้าน
4.       ผู้เรียนซึมซับวิถีการทำงานร่วมกันเป็นคณะ เมื่อเติบโตเข้าสู่สังคมจะสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิชาการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา (Case – based learning)
ความหมายการสอนแบบกรณีศึกษา มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้
กาญจนา เกียรติประวัติ (2524:82) กล่าวว่า การสอนกรณีศึกษา หมายถึง การบันทึกเรื่องราวต่างๆ อาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล หรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาหรือการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง สถานการณ์แต่ละประเภทที่บันทึกไว้จะต้องมีข้อมูลหรือรายละเอียดเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ของผู้เรียน การบันทึกเหตุการณ์จะต้องเปลี่ยนแปลงชื่อบุคคล สถานที่และเวลาที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อบุคคล หรือเหตุการณ์นั้น
            สำลี รักสุทธิ (2544:19) กล่าวว่า การสอนแบบกรณีศึกษา หมายถึง การยกเอาสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งมาให้นักเรียนช่วยกันศึกษาวิเคราะห์อภิปรายและซักถามเพื่อสรุปสาระสำคัญความรู้ร่วมกัน
            สรุปได้ว่า การสอนแบบกรณีศึกษา หมายถึง กระบวนการสอนที่ผู้สอนนำเสนอกรณีศึกษา หรือตัวอย่างหรือเรื่องราวที่เกิดจากสถานการณ์ใดๆ ซึ่งมีปัญหาความขัดแย้งอยู่  โดยนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาวิเคราะห์ อภิปราย แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันในการหาแนวทางแก้ปัญหา จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานของปัญหาและตัดสินใจแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
            วัตถุประสงค์การสอนแบบกรณีศึกษา มีดังนี้
1.       เพื่อฝึกการใช้ความคิดวิเคราะห์ และแยกแยะประเด็นปัญหาเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือ สถานกาณณ์หลายๆแบบ ซึ่งเป็นการมุ่งเสริมสร้างทักษะการคิดเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
2.       การพิจารณากรณีอย่างละเอียดรอบคอบ สมเหตุสมผล เพื่อให้เกิดข้อสรุป เป็นการทำให้ผู้เรียนรู้จักการตัดสินใจอย่างมีหลักการและมีเหตุผลสนับสนุน ได้ปฏิบัติการคิดทุกระดับจากง่ายไปจนถึงการประเมิน โดยจุดเน้นของกรณีจะอยู่ที่เนื้อหาของเรื่องและการอภิปรายประเด็นปัญหาต่างๆ
3.       ให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการสืบค้นความรู้ด้วยตนเอง และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงได้
4.       เพื่อเสริมสร้างทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างรู้บทบาทและหน้าที่ของตน
5.       เพื่อฝึกและให้โอกาสผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ความรู้สึกและเจตคติซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบที่สำคัญของการสอนแบบกรณีศึกษา
วารีรัตน์ แก้วอุไร (2541:72) กล่าวถึง องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1.        เป็นการเรียนที่ใช้เทคนิคการสอนกลุ่มย่อย ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างร่วมกัน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ประมาณกลุ่มละ 6-8 คน และจะมีการอภิปรายถกเถียง และร่วมระดมสมองในกลุ่ม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วยกัน
2.       เป็นการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งหมายถึง การเรียนการสอนจัดขึ้นโดยเน้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดสิ่งที่ตนต้องการจะเรียน และผู้เรียนจะต้องได้รับการอำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นที่ตัวของผู้เรียนเป็นสำคัญ และจากความต้องการของผู้เรียนเอง
3.       เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาที่บูรณาการ กรณีตัวอย่างที่นำมาใช้เป็นสื่อในการเรียนควรจะเป็นกรณีตัวอย่างจากสภาพความเป็นจริงในขณะนั้น โดยจะเป็นกรณีตัวอย่างทางวิชาชีพที่บูรณาการ โดยตัวของมันเองโดยอัตโนมัติ การที่ผู้เรียนจะแก้ปัญหาทางวิชาชีพได้จะต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพหลายวิชามาบูรณาการเพื่อแก้ปัญหา หรือเสนอแนะแนวทางที่จะนำไปใช้อย่างได้ผลดีที่สุดได้ ลักษณะของความรู้ที่เกิดการเรียนรู้ได้จากกรณีตัวอย่างจึงเป็นความรู้ในขั้นของการนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะต้องผ่านการบูรณาการมาแล้วเป็นอย่างดี
4.       เกิดการเรียนรู้จากกรณีตัวอย่าง กรณีตัวอย่างที่นำมาใช้เป็นหลักในการเรียนรู้จะนำมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาและขบคิดและแก้ปัญหา ก่อนจะไปค้นคว้าหาความรู้เนื้อหาวิชาการและเมื่อผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้จนเป็นที่เข้าใจดีแล้ว ผู้เรียนจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบแนวทางในการแก้ปัญหาหรือเสนอแนะแนวทางที่จะนำไปใช้อย่างได้ผลดีที่สุด ตามสถานการณ์ที่ปรากฎอยู่ในทันที การเรียนโดยวิธีนี้จึงเท่ากับเป็นการทดสอบความรู้และแก้ปัญหาอย่างเฉียบพลัน ผู้เรียนจะเห็นประโยชน์ของการเรียนและการค้นคว้าหาความรู้ ในแง่ของการนำไปใช้ตลอดเวลาของการเรียน
5.       ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเองโดยการกำหนดเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาหรือเสนอแนะแนวทางที่จะนำไปใช้อย่างได้ผลดีที่สุดด้วยตนเองและตามความเห็นร่วมกันของกลุ่ม
6.       ผู้เรียนจะเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของตนเอง ของกลุ่ม และกลุ่มเพื่อนได้ด้วยตนเอง เนื่องจากในขั้นตอนของการเรียน ผู้เรียนจะต้องค้นคว้าหาความรู้ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ของกรณีเมื่อกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนและไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองมาแล้ว ยังจะต้องนำความรู้นั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือเสนอแนะแนวทางที่จะนำไปใช้อย่างได้ผลดีที่สุด ผู้เรียนจะรับรู้ได้ว่าตนเองเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้วหรือยังจากการที่ตนสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ โดยกระบวนการที่เกิดขึ้น ผู้เรียนจึงเป็นผู้ที่รู้ดีว่าตนเกิดสัมฤทธิ์ผลในการเรียนอย่างไร
การวัดและประเมินผล  วารีรัตน์ แก้วอุไร (2541:78) กล่าวว่า
การประเมินผลการสอนแบบกรณีตัวอย่างจะเน้นให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง (Self Evaluation)
และประเมินการปฏิบัติงานของสมาชิกกลุ่ม (Peer Evaluation) ฉะนั้น การประเมินจึงใช้เพื่อการประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ว่าตนเรียนรู้อะไรและยังบกพร่องในจุดใด โดยเน้นการประเมินกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) และนำข้อมูลเสนอให้ผู้เรียนได้ทราบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปมากกว่าที่จะประเมินผลรวม (Summative Evaluation) แต่เพียงอย่างเดียว
            ผลกระทบที่มีต่อผู้เรียน
1.       ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
2.       ผู้เรียนสามารถตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ
3.       ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์
4.       ผู้เรียนมีการปรับใช้เครื่องมือและองค์ความรู้ด้านต่างๆ
5.       ผู้เรียนมีทักษะด่านการสื่อสาร
6.       ผู้เรียนมีทักษะการเขียน
7.       ผู้เรียนมีการบริหารเวลา
8.       ผู้เรียนมีการเข้าสังคมและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
ข้อดี – ข้อจำกัดของการสอนแบบกรณีศึกษา
ข้อดี  ทิศนา แขมมณี(2551:364) กล่าวถึง ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบกรณีศึกษา ดังนี้
1.        เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
2.       เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริงและได้ฝึกแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้น ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะแก้ปัญหาเมื่อเผชิญปัญหานั้นในสถานการณ์จริง
3.       เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนสูง ส่งเสริมปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน
4.       เป็นวิธีสอนที่ให้ผลดีมากสำหรับกลุ่มผู้เรียนที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลายสาขา
ข้อจำกัด
1.       หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่กว้างเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน

2.       แม้ปัญหาและสถานการณ์จะใกล้เคียงกับความเป็นจริง แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆกับผู้เรียน ความคิดในการแก้ปัญหาจึงมักเป็นไปตามเหตุผลที่ถูกที่ควร ซึ่งอาจไม่ตรงกับการปฏิบัติจริงได้
วิชา การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project – based learning)
ทฤษฎีและแนวความคิดในการสอน การเรียนรู้แบบโครงการ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ในเรื่องความหมาย ได้มีผู้กล่าวถึงไว้หลายท่าน ดังนี้
            Lenschow (1996) อ้างถึงใน วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2545) อธิบายว่า การเรียนแบบโครงการ หมายถึง การกระทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม ด้วยวิธีการปฏิบัติจริงเพื่อการเรียนรู้การแก้ปัญหา อันนำไปสู่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แสวงหาข้อมูลและแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้น
            สุชาติ วงศ์สุวรรณ (2542) กล่าวถึงความหมายของ การเรียนรู้โดยใช้โครงการว่า หมายถึง การจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งทึ่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
            วัตถุประสงค์ของการสอน
            Katz and Chard (1994) อ้างถึงใน วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2545) กล่าวถึง การสอนแบบโครงการว่า วิธีการสอนนี้มีจุดหมายที่จะพัฒนาเด็กทั้งชีวิตและจิตใจ (mind) ซึ่งแคทซ์และชาร์ด ได้เสนอว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบโครงการควรมีเป้าหมายหลัก 5 ประการ คือ
1.       เป้าหมายทางสติปัญญาและเป้าหมายทางจิตใจของเด็ก
2.       ความสมดุลของกิจกรรม
3.       โรงเรียนคือส่วนหนึ่งของชีวิต
4.       ห้องเรียนเป็นชุมชนหนึ่งของผู้เรียน
5.       การสอนเป็นสิ่งที่ท้าทายครู
องค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบการเรียนรู้แบบโครงการ (Critical Factor in Group Project
Design) การออกแบบและวางแผนการเรียนรู้โดยใช้โครงการ มีกรอบแนวคิด ดังนี้
1.       ความเหมาะสมและความพอดี (fit)
2.       ขอบเขตของการประเมิน (Breath of Evaluation)
3.       เนื้อหาในการสอน (Instructional Issue)
ขั้นตอนการเรียนรู้แบบโครงการ
สุชาติ วงศ์สุวรรณ (2542) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบโครงการเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง 
ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการ ซึ่งผู้เรียนต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งสิ้น โดยมีครู-อาจารย์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา คอยให้คำแนะนำเสนอแนะ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาในการดำเนินงานโครงการ มีขั้นตอนที่สำคัญ 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1.       การคิดและเลือกหัวข้อเรื่อง
2.       การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.       การเขียนเค้าโครงของโครงการ
4.       การปฏิบัติโครงการ
5.       การเขียนรายงาน
6.       การแสดงผลงาน
การวัดและการประเมินผล
กรอบแนวทางการประเมิน สุชาติ วงศ์สุวรรณ (2542) กล่าวว่า แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติ
โครงการของผู้เรียน เป็นการประเมินตามสภาพจริง เป็นวิธีการค้นหาความสามารถและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียนการประเมินผลโครงการ มีกรอบแนวทางการประเมิน ดังนี้
1.       ประเมินอะไร
2.       ประเมินเมื่อใด
3.       ประเมินจากอะไร
4.       ประเมินโดยใคร
5.       ประเมินโดยวิธีใด
ผลกระทบที่มีต่อผู้เรียน
การเรียนรู้แบบโครงการ สามารถช่วยผู้เรียนพัฒนาและฝึกฝนทักษะ ดังนี้
1.       สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal skill)
2.       การแก้ปัญหาและความขัดแย้ง (Conflict resolution)
3.       ความสามารถในการถกเถียง เจรจา เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ  (Consensus on decision)
4.       เทคนิคการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิภาพ (Effective in interpersonal Communication Techniques)
5.       การจัดการและการบริหารเวลา (Time management skill)
6.       เตรียมผู้เรียนเพื่อจะออกไปทำงานร่วมกับผู้อื่น
ประเภทของโครงการ ที่ผู้เรียนจะปฏิบัติในแต่ละระดับ อาจจัดแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 4 ประเภทตาม
ลักษณะของการปฏิบัติ ได้ดังนี้ (สุชาติ วงศ์สุวรรณ ,2542)
1.       โครงการที่เป็นการบูรณาการภายในกลุ่มประสบการณ์/รายวิชา
2.       โครงการที่เป็นบูรณาการข้ามกลุ่มประสบการณ์หรือข้ามรายวิชา
3.       จำนวนผู้ปฏิบัติโครงการแต่ละโครงการ
4.       ระยะเวลาการปฏิบัติงานโครงการ
ข้อจำกัดของการเรียนรู้แบบโครงการ
ข้อดีของการสอนแบบ(Project – based learning)
1.       ผู้เรียนต้องนำความรู้ที่ได้จากแหล่งการเรียนรู้ บูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ เพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ๆด้วยการศึกษาค้นคว้า หาความหมาย การแก้ปัญหา และเรียนรู้จากการค้นพบด้วนตนเอง
2.       ผู้เรียนต้องสร้าง กำหนดความรู้จากความคิดหรือแนวคิดที่มีอยู่แล้ว กับความคิดหรือแนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่
3.       การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านโครงการ ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดกับข้อเท็จจริง ซึ่งจะถูกเชื่อมโยงเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน ในลักษณะของความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงอันจะสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นได้
4.       การเรียนรู้จากโครงการถือได้ว่าเป็นการเรียนร่วมกันภายในกลุ่ม เพราะทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา ค้นคว้า หาคำตอบ ความหมาย ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหา มีการร่วมคิดร่วมทำงานส่งผลให้เกิดกระบวนการค้นพบกระบวนการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนพื้นฐานความรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเป็นลักษณะของการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration Learning)
5.       ความรู้และความสามารถด้านต่างๆที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียน จะถูกกระตุ้นให้ได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ขณะที่ปฏิบัติกิจกรรม เช่นเดียวกับ ทักษะต่างๆที่จำเป็นสำหรับชีวิต เช่น ทักษะการทำงาน ทักษะการอยู่ร่วมกัน ทักษะการจัดการ ฯลฯ ก็จะถูกนำเอามาใช้อย่างเต็มตามศักยภาพ ในขณะที่ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการ
6.       การเรียนรู้แบบโครงการยั่วยุส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมทั้งหมดก็จะถูกปลูกฝัง และสั่งสมในตัวผู้เรียน ได้แก่ การปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย การรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความอดทน เสียสละ รู้จักให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น
7.       การจัดการเรียนรู้แบบโครงการจึงต้องเน้นและให้ความสำคัญที่ตัวผู้เรียน
ข้อจำกัดของการสอนแบบ (Project – based learning)
ถึงแม้การสอนแบบโครงการ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียนมาก อย่างไรก็ดี
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะการสอนแบบดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ระยะเวลานาน โดยระยะเวลาของโครงการ ปกติใช้เวลาหลายสัปดาห์ และในบางโครงการใช้เวลาเป็นเดือน
                            วิชา การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based learning)
ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based learning)
แผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2545-2559 ได้กำหนดทิศทางในการจัดการศึกษาของประเทศโดยมุ่งสร้างสรรค์คนในระดับวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงเพื่อพัฒนาประเทศ มุ่งพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้และความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอันมีคุณค่าแก่บุคคล สังคม และประเทศชาติ ดังนั้นเนื้อหาที่กำหนดในหลักสูตรจึงต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติต่างๆสอดคล้องกับจุดประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติดังกล่าว  และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจะต้องจัดการเรียนการสอนให้พัฒนาทักษะความเข้าใจ ทัศนคติ รวมถึงสามารถนำองค์รวมของความรู้ไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ และหนึ่งในเนื้อหาวิชาที่ส่งเสริมให้คนในชาติบรรลุตามเป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาตินี้คือวิชาวิทยาศาสตร์ การให้ความรู้หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เป็นการเตรียมคนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดในอนาคตจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นสิ่งที่แน่นอนว่าแนวดำเนินการของภาครัฐที่สำคัญ คือเสริมสร้างและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของทุกระดับการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based learning: PBL) จึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นฐาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญปัญหาด้วยตนเอง จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์
ความหมายของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
คือ วิธีการจัดการเรียนการสอนวิธีหนึ่งที่นำปัญหามาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
วูด (Woods,1994:2)ได้สรุปว่า การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ การใช้สถานการณ์ปัญหา เป็นแรงขับกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการจะเรียนรู้
จากการศึกษาสรุปว่า การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นการใช้ปัญหาที่นำมาจากสถานการณ์จริง หรือจำลองเป็นสื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดกระบวนการต่างๆได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การสืบเสาะข้อมูล การสังเคราะห์ นำความรู้ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์สู่การแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงได้ และกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์  เพื่อให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้นต่อการแสวงหาความรู้ใหม่ด้วนตนเองอยู่ตลอดเวลา มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้ด้วนตนเอง ให้มีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง เผชิญปัญหาด้วยตนเอง จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์

ลักษณะที่สำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ
1.       ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง
2.       จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก
3.       ครูมีหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือผู้ให้คำแนะนำ
4.       ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น หรือสิ่งเร้า ให้เกิดการเรียนรู้
5.       ลักษณะของปัญหาที่นำไปใช้ ต้องมีวิธีแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย อาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ
6.       ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ๆด้วยตนเอง
7.       การประเมินผล ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง ดูจากความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน
การวัดผล
การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นหนึ่งในวิธีการประเมินผล ที่เป็นนวัตกรรมการวัดและ
ประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่ ตามแนวทางการประเมินของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการประเมินความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ประเมินความสามารถของผู้เรียนในบริบทของโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ทักษะการคิดวิเคราะห์ ความสามารถเชิงบูรณาการในสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน
            ข้อดีและข้อจำกัด
            ข้อดีของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีดังนี้
1.       เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการเรียน โดยการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ วิธีการแสวงหาความรู้ต่างๆ รวบรวมความรู้และนำมาสรุปเป็นความรู้ใหม่
2.       เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย มีวิธีการแสวงหาความรู้และไตร่ตรองสืบค้นแหล่งทรัพยากรการเรียน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความหมายสำคัญของการเรียนรู้
3.       เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและการพัฒนาทักษะทางสังคม จากการเรียนเป็นกลุ่มย่อยทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนแนวคิดกับผู้อื่น ทำให้มีความรู้กว้างขวางมากขึ้น
4.       เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนจะเปลี่ยนจากการเรียนแบบรับฟังและท่องจำมาเป็นผู้มีส่วนร่วม กำกับและรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน ทำให้มีการเรียนรู้อย่างเข้าใจและสามารถจดจำได้นาน และเชื่อว่าจะนำไปสู่ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองไปตลอดชีวิต
5.       เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยเตรียมให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการศึกษาอย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพ
6.       เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้เดิมที่มีมาคิด ในการสร้างความรู้ใหม่ที่จำเป็นมาต่อเติมเสริมเข้ากับความรู้เดิม สร้างเป็นกรอบแนวคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ได้
ข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีดังนี้
1.       บทบาทของครูที่เปลี่ยนไปจากผู้ให้ความรู้โดยตรงเปลี่ยนเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ อาจทำให้ผู้เรียนที่คุ้นเคยหรือยึดติดกับลักษณะของครูที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เกิดความไม่พึงประสงค์ในคุณลักษณะของครู ที่ต่างไปจากการเรียนตามกระบวนการศึกษาเดิมได้
2.       ความรู้ของผู้เรียนได้จากการที่ผู้เรียนเป็นผู้กำกับตนเอง มีแนวโน้มที่จะเป็นการเรียนรู้อย่างไม่เป็นระบบ ไม่รู้ว่าอะไรสำคัญอะไรไม่สำคัญ ต่างจากการสอนแบบบรรยายของครูที่มักจะมีการสอนอย่างเป็นระบบ
3.       วิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน อาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งวิทยาการต่างๆค่อนข้างมากกว่าการที่ให้ครูเป็นผู้ให้ความรู้โดยตรง อย่างไรก็ตามการใช้คู่มือการเรียนที่เหมาะสม อาจช่วยลดปัญหานี้ลงได้
4.       ผู้เรียนที่จะเกิดการเรียนรู้จากการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานได้ดี ควรเป็นผู้มีความรู้เนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมาในระดับหนึ่ง
ผลกระทบ
ผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เนื่องจากการเรียนใน
ลักษณะนี้เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิด พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และการสืบค้นข้อมูล มีการรวบรวมความรู้และนำมาสรุปเป็นความรู้ใหม่ เป็นลักษณะการเรียนด้วนตนเองจึงทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการอย่างมีความหมายนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเป็นผู้เรียนได้ดีด้วยตนเอง